ลวดลายการจักสาน

ลายขัด 
  ลายขัด  เป็นวิธีการสานแบบพื้นฐานที่เก่าแก่ที่สุด ลักษณะของลายขัดเป็นการสร้างแรงยึดระหว่างตอก ด้วยการขัดกันเป็นรูปมุมฉากระหว่างแนวตั้งกับแนวนอน โดยใช้ตอกยืนหรือตอกแนวตั้งหรือตอกยืนสอดขัดกับตอกแนวนอนโดยยกขึ้นเส้นหนึ่งข่มหรือขัดลงเส้นหนึ่งสลับกันไป อย่างที่เรียกว่า ลายหนึ่ง จากลายหนึ่งได้พัฒนามาเป็นลายสอง ลายสาม และลายอื่นๆ ที่ยังคงรักษาลักษณะการสอดและการขัดกันเช่นเดิม แต่ใช้เส้นตอกในแนวตั้งและแนวนอนมากกว่าหนึ่งเส้น และสอดขัดกันให้สลับไปสลับมาเกิดเป็น ลายสอง ลายสามและลายอื่นๆ อีกมากลายขัดนี้ใช้สานเครื่องจักสานได้หลายชนิด และมักใช้ร่วมกับลายชนิดอื่นเพื่อให้ได้รูปทรงตามต้องการ



ลายสอง
ใช้สานกระชอน กระสอบ ฝาบ้านไม้ไผ่ ลายสองเป็นลายที่ประสมกับลายขัด ลายสามประดิษฐ์ แล้วประดิษฐ์เป็นลายที่มีชื่อว่า ลายลูกแก้ว ลายดีคว่ำ ลายดีหงาย ดาวล้อมเดือน ดาวกระจาย เป็นต้น
การสานเส้นที่ ๑ เริ่มจากตอก ๘ เส้นเป็นเส้นตั้ง ข้ามไป ๑ เส้น สานยกตอก ๒ เส้น ข้าม ๒ เส้น ยกตอก๒ เส้น ข้าม ๒ เส้น
สานเส้นที่ ๒ ข้าม ๒ เส้น ยก ๑๒ เส้นข้าม ๒ เส้น ยก ๒ เส้น ข้าม ๑ เส้น
สานเส้นที่ ๓ ยก ๑ เส้นข้าม ๒ เส้น ยก ๒ เส้น ข้าม ๒ เส้น ยก ๒ เส้น
สานเส้นที่ ๔ ยก ๒ เส้น ข้าม ๒ เส้น ยก ๒ เส้น ข้าม ๑ เส้น ยก ๑ เส้นสานเรื่อยไป โดยเพิ่มทั้งเส้นตั้งและเส้นนอน


ลายสาม
เป็นลายที่ดัดแปลงเพิ่มเติมจากลายสอง นิยมสานกระสอบ เสื่อ กระบุง และฝาบ้าน
การสานใช้ตอก ๙ เส้น เป็นเส้นตั้ง
เส้นที่ ๑ ข้าม ๓ ยก ๓ ข้าม ๓
เส้นที่ ๒ ยก ๑ ข้าม ๓ ยก ๓ ข้าม ๒
เส้นที่ ๓ ยก ๒ ข้าม ๓ ยก ๓ ข้าม ๑
เส้นที่ ๔ ยก ๓ ข้าม ๓ ยก ๓
เส้นที่ ๕ ข้าม๑ยก ๓ข้าม ๓ ยก๒
เส้นที่ ๖ ข้าม ๓ ยก ๒ ข้าม ๓ ยก ๑


ลายขดหรือถัก
ลายขดหรือถัก  เป็นการสานที่ใช้กับวัสดุที่ไม่สามารถคงรูปอยู่ได้ด้วยตนเอง เช่น หวาย ย่านลิเภา ปอ ผักตบชวา วัสดุเหล่านี้ต้องสานด้วยการขดหรือถัก ได้แก่ การถักเป็นเส้นแล้วขดเป็นวงกระจายออกจากศูนย์กลาง แล้วถักเชื่อมกันเป็นชั้นๆ ให้ได้รูปทรงตามต้องการ หรือสานโดยใช้วัสดุอื่นเป็นโครงก่อน แล้วถักหรือสานพันยึดโครงเหล่านั้นให้เป็นรูปทรงตามโครงสร้างที่ขึ้นเช่น การสานเครื่องจักสานย่านลิเภา จะต้องใช้โครงหวายหรือไม้ไผ่มาทำเป็นโครงตามรูปภาชนะที่ต้องการจะสานก่อน แล้วจึงใช้ย่านลิเภาที่จักเป็นเส้นแล้วสอดพันเชื่อมระหว่างโครงแต่ละชิ้นเข้าด้วยกัน จนเป็นภาชนะเครื่องใช้ที่มีรูปทรงตามต้องการ เช่น การสานกระเป๋า กล่อง ตะกร้าหิ้วการสอดขัดนี้อาจจะทำให้เป็นลวดลายเพื่อความสวยงามด้วย

ลายตาหลิ่ว
อาจจะเรียกต่างกันไปตามพื้นถิ่น เช่นลายตาชะลอม ลายชะหมู ใช้สานกระเป๋า ตะกร้า ลายตาหลิ่ว เป็นลายที่ดัดแปลงมาจากลายพื้นฐาน โดยเพิ่มตอกขัดทแยงเป็นลายดอกขิง ลายดอกจันทร์ ลายพิกุล ลายตาชะลอมฯ ล ฯ


ลายขอ
ลายขอ เป็นลายสำหรับสานกระด้ง โดยใช้ไผ่สีสุกสาน เพราะ เป็นไผ่ที่เหนียว ไม่เปราะ


ลายบองหยอง
ลายบองหยอง เป็นลายกระด้งที่ใช้กันทางภาคใต้ ใช้เก็บพริก กาแฟ ข้าวเปลือก